อัพเดตเรื่องสุขภาพและความงาม แฟชั่น ได้ที่นี่

ความดันโลหิต อาการป่วยที่ไม่ควรมองข้าม

ความดันโลหิต หมายถึงอะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการ

ความดันโลหิต คืออะไร เป็นอาการป่วยอย่างหนึ่ง ที่ถือว่าน่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะโรคนี้มีผลต่อหัวใจของเรา เพราะนั่นจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้ เกิดโรคร้ายตามมา เกิดอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต ฯลฯ ความดันโลหิต เกิดจากแรงดันเลือด จากบริเวณหัวใจที่สูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งจะเป็นการวัดได้ 2 ค่าดังนี้

♥ ความดันโลหิตซีสโตลิก ค่าบน(Systolic blood pressure หรือ SBP) คือ เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

  •  น้อยกว่า 120 ความดันโลหิตปกติ
  • 120-139 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 140 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง

♥ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก ค่าล่าง(Diastolic blood pressure หรือ DBP) คือ เป็นค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว

  • น้อยกว่า 80 ความดันโลหิตปกติ
  • 80-89 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 90 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ความน่ากลัวของโรคนี้คือ เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ และยังเป็นโรคเรื้อรังที่ค่อนข้างรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคเกิดจากภาวะ ค่าความดันโลหิต ในหลอดเลือดแดงสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งมักทำให้เกิดอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ดังที่กล่าวไปข้างต้น

โดยทั่วไประดับความดันที่ปกติ จะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ส่วนผู้ที่มีความดันสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทก็เข้าขั้นป่วย และกว่าจะตัวก็เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ตรวจพบอาการได้เร็วขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และรักษาระดับความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด

ทำไมถึงต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง

โรคนี้ ความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง มีความจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรมองข้ามเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ที่อาจเกิดตามมา หากทราบว่าตนเอง มีความสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนเช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์

หากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา! อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้

  • เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตวายเรื้อรัง
  • หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง
  • มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม
  • เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต

ความดันโลหิต อาการความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร?

หากมีอาการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้

อาการที่บ่งบอกว่า ถึงเวลาต้องไปพบแพทย์ โรคความดันโลหิตสูง มักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักไม่รู้ตัว แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้รู้ว่า ผู้ป่วยกำลังมีค่าความดันสูงมาก

  • ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยต่อเนื่องหลายชั่วโมง
  • เวียนศีรษะ มึนงง ตาพร่า
  • อ่อนเพลีย หรือรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
  • เลือดกำเดาไหล

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลายปัจจัย ดังนี้

  • ความดันสูงที่เกิดจากพันธุกรรม คือ มีประวัติคนในครอบครัว เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน และจะเริ่มตรวจพบเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
  • ความดันสูงเกิดจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง เค็มจัด ทำให้เกิดโรคอ้วน ความเครียดสะสม สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ความดันสูงเกิดจากอาการข้างเคียง ของโรคอื่น ๆ เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด

การดูแลผู้ป่วย และวิธีลดความดันสูงโดยไม่ต้องกินยา

ป่วยที่ความดันโลหิตสูงบางรายอาจไม่จำเป็นต้องกินยา แต่ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เน้นไปที่การดูแลเรื่องโภชนาการ ลดอาหารเค็มจัด โซเดียมสูง รับประทานผัก และผลไม้ที่มีรสหวานน้อย ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมไขมันต่ำ ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จัดหรือดื่มแอลกอฮอล์หนัก ควรปรับลดและเลิก หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนให้เพียงพอ

ความดันโลหิต
Healthy food. Delicious fruit salad on the table

วิธีลดความดันแบบธรรมชาติ

หนึ่งในวิธีลดความดันโลหิตสูงแบบธรรมชาติ คือการรับประทานอาหารแบบ DASH หรือ Dietary Approaches to Stop Hypertension ซึ่งผลการศึกษาจากสมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า การรับประทานอาหารด้วยวิธีนี้ ช่วยให้ความดันโลหิตลดลงได้ รวมถึงยังช่วยลดคลอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจได้อีกด้วย สัดส่วนโดยประมาณจะแบ่งออกเป็น

  • ข้าวหรือธัญพืชต่าง ๆ แบบไม่ขัดสี 7-8 ทัพพีต่อวัน
  • ผักสด 4-5 ทัพพีต่อวัน
  • ผลไม้สด รสหวานน้อย 4-5 ทัพพีต่อวัน
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่เกิน 2 ทัพพี และควรรับประทานเนื้อปลาเป็นประจำ เพราะมีโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงหัวใจ
  • นมไขมันต่ำหรือโยเกิร์ต 2-3 แก้วต่อวัน
  • ถั่ว (หลีกเลี่ยงแบบทอดหรือใส่เกลือ) 4-5 กำมือต่อสัปดาห์ เพราะเป็นแหล่งโอเมก้า 3,6,9 แมกนีเซียม โปรตีน ไขมันดี และใยอาหาร
  • ไขมันหรือน้ำมันชนิดดี ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์
  • ของหวานหรือน้ำตาล ไม่เกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ควบคุมปริมาณเกลือโซเดียมให้ไม่เกิน 1500 มิลลิกรัมต่อวัน

การดูแลเบื้องต้น

  1. อาหาร หากรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารลดความดัน และควรรับประทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป
  2. การออกกำลังกาย
  3. งดบุหรี่และสุรา
  4. การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

วิธีวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน

  1. ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
  2. ก่อนทำการวัดควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
  3. นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
  4. วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
  5. ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว

 

อ่านบทความอื่นๆ »»โรคหัวใจวาย

บทความแนะนำ » »ดูซีรี่ย์