บุหรี่ไฟฟ้า การพกพา…ครอบครอง บุหรี่ไฟฟ้าโทษ ผิดกฎหมาย

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่ตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าโทษ ภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า หลายคนคงรู้จักกันดี โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหรือกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ และหลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้า จะช่วยให้การเลิกบุหรี่ง่ายยิ่งขึ้น ถึงตอนนี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่ก็ยังคงเห็นวางขายอยู่เกลื่อนเมือง แถมยังหาซื้อได้ง่ายจากออนไลน์ ร้านขายบุหรี่ไฟฟ้า ในปัจจุบันมีถึง 35 ประเทศที่ออกกฎหมายห้ามนําเข้า และห้ามจําหนายบุหรี่ไฟฟ้า

ห้ามผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาสูบในรูปแบบใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเช่นเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้า และรวมประเทศไทยของเราด้วย และยิ่งในเดือนพฤษภาคม วันที่ 31นี้ ใกล้วันรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ยิ่งต้องทำให้ผู้คนและเยาวชนได้เห็นถึงโทษ บุหรี่ไฟฟ้าโทษ ภัยอันตรายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย เพื่อไม่ให้เสพติดแบบถาวรในอนาคต

ถึงแม้ว่าบริษัทบุหรี่จะอ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้น ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ธรรมดา แต่ข้อมูลจากวงในกลับชี้ชัดว่า ยังแอบแฝงเป้าหมายทางการตลาดเป็นกลุ่มเด็กเยาวชน ข้อมูลลับของบริษัทที่ถูกศาลสั่งให้เปิดเผยมีความว่า “หากบริษัทเราอยู่รอดและก้าวต่อไป เราจะต้องช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่เป็นเยาวชนมาเป็นของเราในระยะยาว

ดังนั้นเราจะต้องออกบุหรี่ยี่ห้อใหม่ ๆ บุหรี่ไฟฟ้าราคา ให้มีรูปลักษณ์เย้ายวนใจผู้สูบบุหรี่อายุน้อย ๆ (ที่มา บริษัทยาสูบ : R.J. REYNOLDS) และวัยรุ่นคือกลุ่มลูกค้าสำคัญของบริษัทบุหรี่ ฐานการทำธุรกิจของบริษัทเราอยู่ที่นักเรียนมัธยมปลาย” (ที่มา บริษัทยาสูบ : LORILLARD) ข้อมูลที่ผู้ค้าบุหรี่สื่อสารบ่งบอกชัดเจนว่า เด็กและเยาวชนเป็นเหยื่อหรือลูกค้ารายใหม่ บริษัทเจาะจงเพื่อทดแทนลูกค้ารายเก่าที่เลิกบุหรี่ และเสียชีวิตไปแล้วนั่นเอง

ด้วยเจตจำนงเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และป้องกันไม่ให้อยากที่จะเริ่มสูบ ในคนที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน หรือเด็กและเยาวชนที่คิดจะทดลองมัน จึงมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ประสบปัญหามากยิ่งขึ้น อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้หลาย ๆ ประเทศพร้อมใจกันให้ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งต้องห้าม นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด ในบทความนี้เรามีคำตอบ

จากผลสำรวจประชากรเรื่องบุหรี่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นฐานข้อมูลส่วนใหญ่ ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 45,971 คนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2556 ต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน ได้เปรียบเทียบผลของการเลิกสูบบุหรี่ โดยใช้บุหรี่ไฟฟ้า กับไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ หรือใช้วิธีหักดิบ ทั้งในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่เป็นประจําและสูบเป็นครั้งคราว

หลังจากการติดตามผลอย่างน้อย 12 เดือน ผู้วิจัยได้สรุปข้อค้นพบสําคัญไว้ 2 ประเด็น คือ

  1. การใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ ดีกว่าการที่ไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า
  2. สองในสาม ของกลุ่มที่เลิกสูบบุหรี่ธรรมดา หลังจากเปลี่ยนมาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ กลายเป็นยังคงติดนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้า

หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด การที่ผู้สูบบุหรี่เลือกใช้บุหรี่ไฟฟ้าเอง โดยไม่มีแพทย์กํากับดูแลนั้น ไม่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้ดีไปกว่า การใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ แผ่นแปะนิโคติน หรือการหักดิบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า (ELECTRIC CIGARETTE) เต็มไปด้วยสารเคมีที่ทำลายสุภาพอย่างไร

การที่บริษัทผู้ผลิตระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้า มีสารเคมีที่เป็นอันตรายน้อยกว่า ซึ่งไม่ได้แปลว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพนะคะ จากคำเตือนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าโทษ นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกเตือนอีกเรื่องหนึ่งว่า “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษหลายชนิดที่สูงกว่าบุหรี่ธรรมดา และสารพิษบางชนิดในบุหรี่ไฟฟ้าบางชนิด ไม่เคยพบมาก่อนในบุหรี่ธรรมดา”

และยังมีหลักฐานจากวงการแพทย์มากมาย ที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าพร้อมสูบ เช่นอันตรายยต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ อันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ตลอดจนอุบัติการณ์ระบาดจากการบาดเจ็บทางปอดที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือการสูบไอของบุหรี่ไฟฟ้า (E-CIGARETTE OR VAPING PRODUCT USA-ASSOCIATED LUNG INJURY : EVALI)

ซึ่งอันตรายเหล่านี้นำไปสู่ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ผลของการตรวจวิเคราะห์สารเคมีในผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประเภทบารากุไฟฟ้า ในรูปแบบแท่งและแบบเหลวนั้น พบสารเคมีโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 12 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ โครเมียม, แมงกานีส, ทองแดง, สังกะสี, สารหนู, แคดเมียม, สารปรอท, ตะกั่ว, โพรไพลีน, ไกลคอล เมนทอล ไซโคลเฮกซานอล และกลีเซอรอล

เป็นรายงานจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา โลหะหนักที่เป็นอันตรายและสารก่อมะเร็งคือ โครเมียม, แคดเมียม, สารหนูและตะกั่ว ขณะที่สารในกลุ่มโลหะหนัก 5 ชนิด คือ เหล็ก, นิกเกิล, ทองแดง, สังกะสีและตะกั่ว ซึ่งหลุดละลายจากขดลวดที่ทําให้ร้อน จากแบตเตอรี่ของอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าไปยังน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ยังสามารถหลุดละลายเพิ่มขึ้นตามการไหลของอากาศ และความเข้มข้นของนิโคติน นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด

บุหรี่ไฟฟ้า นิโคตินมีโทษอย่างไร และออกฤทธิ์อะไรต่อร่างกาย

นิโคตินเป็นแหล่งสารเสพติดอันตราย ที่พบในบุหรี่ธรรมดาและ บุหรี่ไฟฟ้า โดยทำหน้าที่เป็นตัวชักนำให้เกิดอาการเสพติด สามารถเข้าสู่สมองได้ภายใน 7 นาที โดยทำให้ร่างกายหลั่งสารโดปามีน (DOPAMINE) เข้าสู่ระบบประสาท ทำให้เกิดภาวะการเสพติด และทำให้เลิกบุหรี่เป็นไปได้ยาก นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด

และยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นสารที่ก่ออันตรายต่ออวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ในส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับความจำ สติปัญญาและพฤติกรรม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองของทารก เด็กและเยาวชน ส่งผลให้สมองมีความพร้อมที่จะติดยาเสพติดชนิดอื่น ๆ บุหรี่ไฟฟ้าโทษ เพราะนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาพิษ ซึ่งมีส่วนผสมในยาฆ่าแมลง ส่งผลกระทบต่อผู้สูบและคนรอบข้าง

บุหรี่ไฟฟ้า

นิโคตินไม่ปราณีแม้แต่ทารกที่ไรเดียงสา นับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จากข้อเท็จจริงดังนี้

  • เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง หัวใจบีบตัวแรง อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้
  • ทำให้แผลหายช้า เนื่องจากนิโคตินทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังหดตัว ทำให้ผิวหนังได้รับออกซิเจนน้อยลง
  • กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งโตเร็วขึ้น นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด
  • มีผลเสียต่อเด็กในครรภ์และก่ออันตรายต่อทารกแรกเกิด โดยทำให้ทารกได้รับเลือดและออกซิเจนน้อยลง ทำให้น้ำหนักตัวของทารกน้อยลง มีความผิดปกติในโครงสร้างและการทำงานของสมองทารกในครรภ์
  • เป็นสารที่มีอำนาจเสพติดรุนแรง บุหรี่ไฟฟ้าโทษ เหมือนกับการเสพติเฮโรอีนหรือโคเคน โดยเยาวชนที่เข้าถึงบุหรี่ 10 คนจะมี 7 คนที่ติดบุหรี่ไปตลอดชีวิตและอีก 3คนเลิกบุหรี่ได้ แต่ใช้เวลาเฉลี่ยถึง 20ปีจึงจะเลิกได้สำเร็จ
  • ฝังลึกได้ถึงจิตใต้สำนึกและระดับยีน โดยนิโคตินสามารถเข้าสู่สายรกผ่านไปที่ต่อมเพศของทารก แล้วทำให้เกิดยีนโน้มนำให้เด็กที่คลอดออกมาพร้อม หรือต้องการเสพนิโคตินแล้วเรียบร้อย และเมื่อยังอยู่ในครอบครัวที่มีวงจรแบบนี้ ก็เปรียบเสมือนการถ่ายทอดพันธุกรรมสืบรุ่นต่อไป นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด

บทสรุปของประเทศไทยในการห้ามนำเข้า และห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า

รัฐบาลหลายประเทศจับตาบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้งานออกมาเป็นระยะ สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายห้ามนำเข้า และห้ามจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ ขณะที่ทั่วโลกมี 35 ประเทศห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า และมี 3 ประเทศห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่มีสารนิโคติน ประเทศที่อนุญาตให้ขาย บุหรี่ไฟฟ้า ได้ภายใต้กฎหมายควบคุมมี 73 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 34 ประเทศที่ควบคุมนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า

แต่ละประเทศมีแนวทางการจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน กรอบคิดในการจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศต่าง ๆ แบ่งเป็นการห้าม, การควบคุมในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์, ห้ามส่วนประกอบบางชนิด, ควบคุมในฐานะที่เป็นสารพิษ, ควบคุมในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบ, ควบคุมในฐานะที่เป็นสินค้าเพื่อบริโภค และควบคุมในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษ บุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก

ประเทศส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ต้องจำกัดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้อ รวมทั้งจำกัดการโฆษณาและส่งเสริมการขาย และการห้ามสูบในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งในจำนวนประเทศเหล่านี้ จัดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ ภายใต้กฎหมายควบคุมยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะ แต่บางประเทศจัดให้บุหรี่ไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ไว้ในบางกรณีด้วยเช่น โทษบุหรี่ไฟฟ้า กฎหมาย

บุหรี่ไฟฟ้า

  • สหราชอาณาจักรซึ่งมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย “ค่อนข้างมาก” เพราะไม่ปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคปอดและมะเร็ง อีกทั้งการติดนิโคตินอันตรายน้อยกว่าสารอื่น ๆ นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด
  • ญี่ปุ่นไม่มีมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน (Non-nicotine e-cigarettes) บุหรี่ไฟฟ้าแบบที่มีนิโคตินได้รับการควบคุมตามกฎหมายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ แต่ก็ยังไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินได้รับอนุญาต
  • ออสเตรเลียจัดบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคติน เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด แต่ละรัฐมีการกำหนดอายุขั้นต่ำ ห้ามใช้ในที่สาธารณะ และข้อห้ามเกี่ยวกับการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าแบบที่มีสารนิโคติน ใช้และนำเข้าได้เฉพาะมีใบสั่งยาจากแพทย์
  • ขณะที่สหภาพยุโรป กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าระบุส่วนผสมในสารเหลว รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นต้น

นโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้านั้น บุหรี่ไฟฟ้าโทษ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพราะขึ้นกับสถานการณ์การบริโภคยาสูบ และบริบทของประเทศนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถอ้างอิง หรือคัดลอกมาตรการของประเทศหนึ่งมาใช้กับอีกประเทศได้

ดังนั้นจุดยืนของประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในรัฐภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญา ว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก(WHO-FCTC) นิโคตินสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลให้เสพติด บุหรี่ไฟฟ้าโทษ ผิดกฎหมายจึงยืนยันมาตรการห้ามนําเข้า และห้ามจําหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเด็ดขาดในทุกกรณี โดยปราศจากข้อกังขาใด ๆ

มีไว้ครอบครองต้องระวางโทษ ห้ามจำหน่าย 

กฎหมายไทยกำหนดให้ บุหรี่ไฟฟ้าโทษ เป็นสินค้าต้องห้ามทั้งการนำเข้า จำหน่ายหรือให้บริการ มีความผิด 3 ข้อหา ประกอบด้วย

1.สคบ. มีคำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ผู้ใดขายหรือให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนรวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้าด้วย

3.มีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา244 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

Sources : สสส., สคบ, WHO

อ่านต่อ>>>วันดื่มนมโลก

อนิเมะ