น้ำสมุนไพรยอดนิยม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสรรพคุณหลากหลาย ดื่มได้ทุกวัน
น้ำสมุนไพรยอดนิยม ถ้ากล่าวถึงน้ำสมุนไพรนั้น จริง ๆ แล้ว สมุนไพรของไทยมีอยู่มากมายหลายชนิดมาก ๆ แต่ในบทความนี้ ไฉไลจะคัดเลือกนำมาเสนอเฉพาะ น้ำสมุนไพรยอดนิยม ที่มีขายกันอยู่ทั่วไป หาซื้อกินได้ง่ายตามร้านอาหาร หรือตามท้องตลาด ซึ่งมีประโยชน์และสรรพคุณ ที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละชนิด มีทั้งน้ำสมุนไพรลดความดัน น้ำสมุนไพรลดไขมัน น้ำสมุนไพรแก้เจ็บคอ น้ำสมุนไพรแก้ไอ มีทั้งแบบร้อนและเย็น สามารถดื่มได้
หากใครชอบทำน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเอง ดื่มสมุนไพรหลังมื้ออาหาร ก็จะดีมากเพราะบางชนิดช่วยย่อยอาหารได้ ทำให้มีรสชาติที่ถูกปาก และปลอดจากสารเคมีอีกด้วย แต่ถ้าใครไม่สะดวกที่จะทำเองก็มารู้ ประโยชน์น้ำสมุนไพร ของแต่ละชนิดกันก่อนดีกว่า ว่ากินแล้วเกิดประโยชน์ในด้านใด เพื่อเพิ่มสรรพคุณให้ได้ผลกับร่างกายมากยิ่งขึ้น
คุณค่าและประโยชน์น้ำสมุนไพร น้ำสมุนไพรมีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติ น้ำสมุนไพรยอดนิยม ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่าง กายโดยตรง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเป็นอาหารต้านโรคโดยเฉพาะโรคอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากความเสื่อม ได้แก่ ผิวหนังเหี่ยวย่น ฝ้า กระ ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ อัมพาต ต้อกระจก มะเร็ง จนกระทั่งโรคเอดส์ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ สารผัก (phytonutrient หรือ phytochemical) และเส้นใยอาหาร
สารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย บำรุงเส้นผม ควบคุมไขมัน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพร ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้สารอาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์เต็มที่ มี น้ำสมุนไพรยอดนิยม อะไรบ้างมาดูกันค่ะ
ดับกระหายคลายร้อน น้ำสมุนไพรยอดนิยม เพิ่มความสดชื่นด้วยน้ำสมุนไพร
1.น้ำเก๊กฮวย
เก๊กฮวยเป็นสมุนไพรช่วยดับร้อน ช่วยระบบย่อยอาหาร และลดความดันโลหิต การทำน้ำเก๊กฮวยมีแค่ดอกเก๊กฮวยแห้ง และน้ำตาลทราย จะใส่ใบเตยเพิ่มความหอมด้วยก็ได้ค่ะ
2.น้ำใบเตยหอม
รสหอมเย็น ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง ทำให้ชุ่มชื้น ต้นและราก เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัย
3.น้ำกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบ มีสรรพคุณขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ ใครอยากทำน้ำกระเจี๊ยบ แค่เอาดอกกระเจี๊ยบแห้ง นำมาต้มกับพุทราจีน เติมเกลือและน้ำตาลตัดรส
4.น้ำมะตูม
มีรสเผ็ดร้อน ใครกำลังมองหาน้ำสมุนไพรช่วยขับลม หรือมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน มาลองทำน้ำมะตูม จับมะตูมแห้งไปย่างหรือคั่วไฟจนหอม แล้วเอาไปต้มจนน้ำเดือดและสีเปลี่ยน เติมน้ำตาลทรายลงไป
5.น้ำจับเลี้ยง
จับเลี่ยงจุ้ยเป็น เครื่องดื่มสมุนไพร ที่มีต้นตำรับมาจากประเทศจีน หรือที่เราเรียกกันว่า “จับเลี้ยง” นั่นเอง มีสรรพคุณในการปรับสมดุลให้กับร่างกาย จากสภาวะการขาดสมดุลของร่างกาย เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ กินน้ำน้อย กินของที่ทำให้ร้อน เช่น ของทอด อีกทั้งยังช่วยดับกระหายและแก้ร้อนในได้อีกด้วย
6.น้ำอัญชัน
อย่างที่รู้กันดีว่าสรรพคุณดอกอัญชัน นอกจากเอามาบำรุงผมให้ดกดำ หรือคั้นน้ำมาทำขนมได้แล้ว ยังทำเป็นน้ำสมุนไพรได้อีกด้วย ใครอยากทำน้ำอัญชันง่าย ๆ ก็แค่เอาไปต้มกับน้ำเปล่า และเติมน้ำตาล หรือจะทำน้ำอัญชันมะนาวหรือ น้ำอัญชันโซดาก็ตามชอบค่ะ น้ำสมุนไพรยอดนิยม
7.น้ำใบบัวบก
เป็นยาบำรุงแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ช่วยลดการอักเสบ แก้ช้ำใน ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิด รักษาโรคเรื้อนและโรคซิฟิลิสได้ด้วย แม้ใบบัวบกจะมีกลิ่นเหม็นเขียวหน่อย แต่ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงสมอง และบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ใครกินสดไม่ไหวลองดัดแปลง เป็นน้ำใบบัวบกสักแก้วไหมคะ
8.น้ำหล่อฮั้งก้วย
หล่อฮั้งก้วยเป็น สมุนไพรจีน ที่มีรสหวานอยู่ในตัว สรรพคุณช่วยดับร้อน และไม่อ้วน ส่วนใหญ่เอามาทำน้ำหล่อฮั้งก้วย ผสมกับเก๊กฮวยเพิ่มกลิ่นหอม และเติมน้ำตาลทรายนิดหน่อย
9.น้ำตะไคร้
มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว และเป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ
10.น้ำสำรอง
ทำจากลูกสำรอง สามารถเอามาทำน้ำสมุนไพรสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ โดยการทำน้ำสำรองเริ่มจากเอาลูกสำรองไปแช่น้ำจนพองตัวเป็นวุ้น เลือกเอาแต่วุ้นแล้วเอาไปต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลทราย ดื่มขณะร้อน ๆ หรือพักทิ้งไว้จนเย็นสนิท เทใส่ขวดเก็บไว้ดื่มแบบเย็น
สมุนไพรแบ่งออกเป็น 4 ธาตุเจ้าเรือนด้วยกันได้แก่
1.คนธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุดินคือ
– รสฝาด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า
– รสหวาน เช่น น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุดฝรั่ง
น้ำลำไย น้ำอ้อย
– รสมัน เช่น น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว
2.คนธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว และขม น้ำสมุนไพรที่เหมาะสมกับคนธาตุน้ำคือ
– รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะขาม น้ำมะขาว น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำมะยม น้ำส้มโอ น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด
น้ำส้ม น้ำลิ้นจี่ น้ำองุ่น น้ำชมพู่ น้ำสตอเบอรี่ น้ำมะปราง น้ำมะเฟือง
– รสขม เช่น น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจือ น้ำใบบัวบก
3.คนธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุลมคือ น้ำกะเพราะแดง
น้ำขิง น้ำข่า น้ำตะไคร้ น้ำกานพลู
4.คนธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม หอมเย็น (สุขุม) และ จืด น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุไฟคือ
– รสขม เช่น น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจืด น้ำใบบัวบก
– รสหอมเย็น เช่น น้ำใบเตย น้ำลูกเดือย น้ำเม็ดแมงลัก น้ำแตงไทย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว น้ำลูกจาก
น้ำลูกตาลอ่อน
– รสจืด เช่น น้ำผักคะน้า น้ำผักตำลึง น้ำแตงกวา น้ำขึ้นฉ่าย น้ำดอกคำฝอย น้ำว่านหางจระเข้ น้ำผัก
กวางตุ้ง
เทคนิคในการเตรียมน้ำสมุนไพร
1. การเลือกสมุนไพร การเลือกสมุนไพรที่จะทำน้ำสมุนไพร น้ำสมุนไพรยอดนิยม ต้องคำนึงถึงสมุนไพรที่สด หรือถ้าเป็นสมุนไพรที่ต้องทำให้แห้ง ควรเลือกสมุนไพรที่ใหม่สะอาด ดูลักษณะ สี กลิ่น ดูว่ามีเชื้อราหรือไม่ สมุนไพรที่สดใหม่ ช่วยให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูง สีสันน่ารับประทาน
2. ความสะอาด ทั้งสมุนไพรและภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ ถ้าไม่สะอาดอาจทำให้ผู้ดื่ม
น้ำสมุนไพรท้องเสีย และยังทำให้น้ำสมุนไพรเก็บไม่ได้นานเท่าที่ควร
3. ภาชนะที่ใช้ภาชนะที่ต้มควรจะเป็นหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้หม้ออลูมิเนียม เพราะอาจจะทำให้กรดที่อยู่สมุนไพรกัดภาชนะ ถ้าเป็นหม้อหรือกระทะทองเหลือง จะทำให้รสของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป นอกจากนี้การที่เราดื่ม
น้ำสมุนไพรที่มีสารโลหะหนักผสมอยู่ อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สำหรับภาชนะที่บรรจุควรจะเป็นขวดแก้ว จะสะดวกในการนึ่งและ น้ำสมุนไพรจะไม่ทำปฏิกิริยากับขวดแก้ว ยังดูใสสะอาดน่าดื่มยิ่งขึ้น
ข้อควรระวัง: ในการปรุงและดื่มน้ำสมุนไพร คือไม่ควรใส่น้ำตาลให้หวานจัดจนเกินไป ควรให้รสชาติและกลิ่นของสมุนไพรที่มี รสนำแทนการใช้รสหวานของน้ำตาล
อ่านต่อ>>>ชาจีนเพื่อสุขภาพ