ประโยชน์ของ “ผักดอกกะหล่ำ” ช่วยต้านโรค พิฆาตมะเร็ง

มีใครชอบรับประทานผักเป็นชีวิตจิตใจเหมือนกับทางนี้บ้างไหมคะ โดยเฉพาะ “ผักกะหล่ำดอก” ผักที่สามารถหาซื้อได้ง่ายๆตามตลาดทั่วไป โดยมีรสชาติกรอบอร่อยและมีคุณประโยชน์อีกเพียบที่อยากแนะนำในบทความต่อไปนี้ ซึ่งเชื่อว่ายังคงมีอีกหลายๆคนที่ไม่เคยรู้ประโยชน์หรือสรรพคุณต่างๆ ที่ถ้าได้รู้แล้ว รับรองต้องร้องว้าวแน่นอน เผื่อจะได้หันมาลองทานเพื่อสุขภาพดีๆกันด้วยค่ะ

กะหล่ำดอก (Cauliflower)

ประโยชน์ของ

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Brassica oleracea หรือชื่อตามท้องถิ่นแถวบ้านผู้เขียน(เชียงใหม่)ก็จะเรียกกันว่า ผักกาดดอก เป็นพืชผักที่ผู้คนนิยมใช้ส่วนของดอกของกะหล่ำในการรับประทานกัน โดยอยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น มีลักษณะเป็นก้อนอวบแน่นและผลกรอบมีสีขาวๆถึงเหลืองอ่อน หารับประทานได้ง่าย จัดเป็นพืชในตระกูลกะหล่ำเช่นเดียวกับกะหล่ำปลีและบลอกโคลี ที่ประกอบด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเค วิตามินบี5 โฟเลต โพแทสเซียม ฯ ซึ่งประสิทธิภาพจากพวกสารอาหารต่างๆเหล่านี้นี่แหละสามารถช่วยรักษาและป้องกันโรค ต้านโรคบางชนิดได้ เช่น

ช่วยต้านมะเร็ง

ด้วยสาร ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพป้องกันมะเร็งหลายชนิดได้ มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ที่ใช้ในการกำจัดเซลล์มะเร็งต่างๆ หากได้กินเป็นประจำ จะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี

ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง

จากสาร แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ และวิตามินต่างๆ ในกะหล่ำดอก ซึ่งช่วยต้านการอักเสบต่างๆและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

ทำให้เรามีความจำดีขึ้น จากในสาร โคลีน (Choline) ที่อยู่ในกะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ช่วยบำรุงสมองได้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยชะลอการสลายตัวของสารสื่อประสาท ซึ่งก็จะช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้นั่นเอง

ช่วยเรื่องโรคกระดูกพรุน

โดยกะหล่ำดอกเป็นแหล่งของ วิตามินเค ที่ทำหน้าที่บำรุงกระดูกในร่างกายให้แข็งแรง เสริมการดูดซึมแคลเซียมได้เป็นอย่างดี ช่วยลดอัตราเสี่ยงป้องกันกระดูกหักได้

ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย
เพราะในกะหล่ำดอกอุดมไปด้วย วิตามินซีสูง จึงสามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟันได้ หรือทำให้ผู้ที่ป่วยมีอาการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

คำแนะนำในการเลือกรับประทาน

  1. ไม่แนะนำให้ปรุงจนสุกมากเกินไป เพราะจะไปทำลายคุณค่าทางสารอาหารได้
  2. ไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพราะมีสารพิวรีนอยู่ในกะหล่ำดอกระดับปานกลางอาจจะกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมาได้
  3. ไม่แนะนำคนที่ชอบมีปัญหา ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องได้ง่าย เพราะกะหล่ำดอก อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ง่ายมาก

และนี่คือตัวอย่างเมนูจากกะหล่ำดอกที่ทางผู้เขียนชอบทานเป็นประจำ โดยแค่เอามาต้มใส่ปลาใส่พริกแกงเพิ่มรสชาติลงไป แล้วกินกับข้าวสวยร้อนๆก็คือถูกปากถูกใจในรสชาติความอร่อยและความกรอบหวานของดอกกะหล่ำมาก อีกเหตุผลที่ชอบก็คือรับประทานได้ง่าย ไม่ขมหรือเหม็นเขียวเหมือนกับผักชนิดอื่นๆเลย และที่สำคัญเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับใครที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่ เพราะไม่ได้ให้พลังงานที่สูง ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องความอ้วนเลยค่ะ

 

อ่านบทความอื่นๆ »» BEAUT

ผู้สนับสนุน » »คลิ๊ก